ความภูมิใจของผมครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสคุยกับ รัฐมนตรีดิจิทัล ไต้หวัน Audrey Tang (ออดรีย์ ถัง) 1ที่ไต้หวันกำลัง Workshop กันอย่างเข้มข้นเรื่องการเอา GenAI มาใช้กับภาครัฐ และผลักดัน Democratization AI ลดความ Bias ของ AI ที่ถูกเทรนด้วยบริษัทใหญ่ไม่กี่เจ้าแต่ให้คนทั่วโลก โมเดลขนาดใหญ่จาก Big Tech Giant เหล่านี้
หากประเทศ หรือโลกส่วนใหญ่ ใช้ LLMs จากสหรัฐ โมเดลจากแหล่งเดียวหรือน้อยแหล่ง จะเกิดการโน้มเอียงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไม่ตอบโจทย์ความหลากหลายของวัฒนธรรม และแนวคิดแตกต่างกัน ที่เป็นธรรมชาติของโลก นั่นเมื่อปี 2023 คิอว่าตอนนี้ไต้หวัน จากวันที่เขา Workshop กัน ตอนนี้พวกเขาจะไปถึงไหนแล้วครับ
Democratization AI เป็นคำที่ทุกคนอาจจะไม่คุ้นแต่ถ้าพูด Sovereign AI ก็จะคุ้นชินมากขึ้น
Sovereign AI หรือปัญญาประดิษฐ์แบบพึ่งพาตนเอง หมายถึงความสามารถของประเทศในการพัฒนาและควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยตนเอง โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล และบุคลากรภายในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย วัฒนธรรม และผลประโยชน์ของชาติ
“Sovereign AI” หรือ “ปัญญาประดิษฐ์ที่มีอธิปไตย” ไม่ได้มีผู้บัญญัติคำอย่างเป็นทางการ แต่ได้รับการผลักดันและเผยแพร่โดยผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหลายคน โดยเฉพาะ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA และ Michael Dell ซีอีโอของ Dell Technologies ได้พูดเรื่องนี้ในงานสัมนาหลายเวที
โดยเฉพาะในเวทีสำคัญ การประชุม World Governments Summit ที่ดูไบในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 Jensen Huang เขาได้กล่าวว่า Sovereign AI คือการที่ประเทศต่างๆ ควรมีความสามารถในการพัฒนา AI ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล และบุคลากรของตนเอง เพื่อสะท้อนวัฒนธรรม สังคม และประวัติศาสตร์ของตนเอง อีกทั้งยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมี “AI factories” หรือศูนย์กลางการประมวลผล AI ภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนา AI ที่สอดคล้องกับความต้องการและค่านิยมของแต่ละประเทศ NVIDIA Blog
สรุปแนวคิดและคำพูดสำคัญของ Jensen Huang (CEO, NVIDIA) เกี่ยวกับ Sovereign AI ใน World Governments Summit ซึ่งผมมองว่าน่าสนใจ สรุปมาจาก Blog ของ Nvidia อีกทีเอาส่วนนี้มาเติมให้เห็นมุมมองคนที่จุดกระแส “Sovereign AI” ให้กว้างขึ้น
“AI factory will become the bedrock of modern economies” bedrock เทียบเป็นหินฐาน แก่นหลักของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสำคัญมากกับประเทศทุกประเทศ
“AI factory จะกลายเป็นรากฐานของเศรษฐกิจสมัยใหม่” นั่นหมายถึงการสร้างศูนย์ประมวลผล AI ขั้นสูง ที่รวบรวมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญไว้ในที่เดียว เปรียบเหมือนโรงงานที่รับ “ข้อมูล” เป็นวัตถุดิบ แล้วแปรให้เป็นปัญญาประดิษฐ์และบริการต่างๆ AI factory ช่วยให้องค์กรและภาครัฐสร้างนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น ลดต้นทุน ปรับตัวตามความต้องการเฉพาะด้าน ทั้งยังรักษาอธิปไตยทางข้อมูลให้อยู่ในประเทศ สร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

- “AI factory will become the bedrock of modern economies”
- Jensen Huang เน้นย้ำว่า “AI factories” หรือศูนย์ประมวลผล AI ขั้นสูง จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจสมัยใหม่
- เปรียบเสมือนโรงงานอุตสาหกรรมที่รับ “ข้อมูล” เป็นวัตถุดิบ แล้วแปลงออกมาเป็น “ปัญญา” ช่วยเร่งนวัตกรรมในทุกภาคส่วน
- ความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ เขาชี้ว่า Sovereign AI ต้องเริ่มจากการมีศูนย์ข้อมูล (data centers) และคลัสเตอร์ AI ที่ควบคุมโดยภาครัฐหรือพันธมิตรภายใน
- การสะท้อนค่านิยม–วัฒนธรรมท้องถิ่น
- เขาชูให้เห็นว่า Sovereign AI ไม่ใช่แค่ “เครื่องมือ” แต่เป็นการสร้างโมเดลและชุดข้อมูลที่สะท้อนภาษา วัฒนธรรม หรือความต้องการเฉพาะของประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างว่า LLM ที่ฝึกด้วยชุดข้อมูลท้องถิ่นช่วย “อนุรักษ์ภาษา” และตอบโจทย์ทางธุรกิจ–การศึกษาในบริบทนั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น
โดยสรุป: Jensen Huang มองว่า Sovereign AI คือการสร้าง “AI factories” และโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ ให้พร้อมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และบุคลากร เพื่อให้ทุกชาติสามารถพัฒนา นวัตกรรม และควบคุมเทคโนโลยี AI ได้ด้วยตัวเอง พร้อมสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจ–สังคมที่ยั่งยืนในระยะยาว
ในช่วงปี 2024–2025 หลายประเทศได้ดำเนินการ Sovereign AI อย่างไร ส่วนนี้ใช้ [AI Search] และเขียนเพิ่มครับ
🇬🇧 สหราชอาณาจักร
นำโดย หน่วยงาน: รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เปิดตัวแผน “AI Opportunities Action Plan” ซึ่งรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการประมวลผล AI การสร้างโซนการเติบโตของ AI และการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา AI ภายในประเทศ GOV.UK+3Technology Law Dispatch+3GOV.UK+3
🇺🇸 สหรัฐอเมริกา
ในเดือนมกราคม 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งบริหารที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ด้าน AI โดยการยกเลิกนโยบายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา AI และส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมในสาขานี้ Wikipedia
🇨🇳 จีน
หน่วยงาน: รัฐบาลจีนและภาคเอกชน ร่วมกัน โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเซี่ยงไฮ้ในการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะในด้าน AI พร้อมส่งเสริมการพัฒนาและการกำกับดูแล AI ภายในประเทศ Reuters
แต่ประเทศจีนจะพิเศษหน่อย ที่สามารถต่อกรกับ US ได้ Sovereign AI ในประเทศสามารถทำได้ถึงการพัฒนาชิป AI โดยบริษัท Huawei กำลังพัฒนาและทดสอบชิป AI รุ่นใหม่ Ascend 910D เพื่อแข่งขันกับชิปของ NVIDIA ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
🇫🇷 ฝรั่งเศส
หน่วยงาน: รัฐบาลฝรั่งเศสและภาคเอกชนร่วมกัน โดยฝรั่งเศสได้จัดการประชุม “AI Action Summit” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 โดยมีการประกาศโครงการลงทุนกว่า 110 พันล้านยูโรในภาค AI รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการฝึกอบรมบุคลากรด้าน AI Wikipedia
🇮🇳 อินเดีย
หน่วยงาน: รัฐบาลอินเดีย อินเดียได้เปิดตัวโครงการ “IndiaAI Mission” มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการพัฒนา AI ภายในประเทศ โดยเน้นการใช้ข้อมูลสาธารณะและการสนับสนุนสตาร์ทอัพด้าน AI Time
🇨🇭 สวิตเซอร์แลนด์
หน่วยงาน: รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์และสถาบันการศึกษาร่วมกัน โดยสวิตเซอร์แลนด์ได้เปิดตัว “Swiss National AI Institute” เพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมด้าน AI ภายในประเทศ โดยเน้นการพัฒนาโมเดล AI ขนาดใหญ่และการส่งเสริมความโปร่งใสและการพัฒนาแบบเปิด Wikipedia
🇹🇭 Sovereign AI ของประเทศไทย
ประเทศไทยก็มีความเคลื่อนไหวในภาคเอกชนอยู่ครับ ถ้าภาพใหญ่ก็ Siam AI ได้ร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน AI ภายในประเทศ โดยมีเป้าหมายในการสร้างโมเดลภาษาไทยและระบบ AI ที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของประเทศ ส่วนภาครัฐนอกจากการจับมือกับ Cloud Provider เจ้าใหญ่และสนันสนุนการลงทุนการตั้ง Data Center ในประเทศไทยก็เริ่มมีการจัดตั้งคณะทำงาน AI

ช่วงนี้กำลังจะเข้าโครงการพัฒนา LLMs กำลังวางแผนและตัดสินเรื่องการพัฒนาอยู่หลายอย่างเลยครับ การไปงานนี้เหมือนรวมหลาย ๆ มุมมองจากหลายท่าน ที่มี Background แตกต่างกัน ให้ผมได้ไปตกผลึกกันต่อเรื่องการเลือกทิศทางการพัฒนา Foundation Model ถ้าใครมีเวลาฟัง Video ที่ Embed ได้ ก็จะได้มุมมองทั้งหมด แต่ถ้าจะเอาสาระสำคัญอ่านจากที่ผมสรุปได้เลยครับ
ไทยควรพัฒนา LLMs ของตัวเองเพื่อ มีอธิปไตย AI ของตัวเองหรือไม่
คำถามเปิด : คณะกรรมการ AI แห่งชาติยุคใหม่ กำลังถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาล Sovereign AI ควรจะมีหรือไม่อย่าง เนื่องจากเป็น Open Discussion จะสรุปเนื้อหามาเป็นก้อน ๆ
เราควรทำ Sovereign AI ด้วยเหตุผล
- ไทยเราตกขบวนเทคโนโลยีเสมอ และเราก็จะเสียอธิปไตย โดนครอบงำเทคโนโลยีจากต่างประเทศเสมอ ยกตัวอย่าง เราเคยมี Search SiamGuru สุดท้าย Google ก็เข้ามาแทน และทำให้ต้องปิดบริการไป
- การจะที่ไทยจะมี Sovereign AI ในนิยามของ ดร.กอบกฤตย์ คือ ที่คนไทยมีความรู้ในการพัฒนา AI ถึงจะมีอธิปไตย ดร.กอบกฤตย์ ว่าเราควรทำ LLM จากเริ่มต้น From Scratch ภาษาไทย ต่อให้ยังไม่เก่งแต่ Knowhow สร้าง Value ได้มากเช่น การลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ซึ่ง OpenSource LLMs เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีในการเริ่มต้นใช้งาน ลอง Open ThaiGPT
- การที่เราเข้าใจ เราจะสามารถปรับเปลี่ยนได้มากขึ้น ถ้าเรามี Know how ก็ไม่ต้องไปจ่ายคนค่าตัวแพง ๆ ในต่างประเทศ
- การที่ประเทศไม่มี Sovereign AI น่ากลัว เพราะ Opportunity Cost ถ้าคนในประเทศไม่รู้เทคโนโลยี ไม่มีทีม Operate และมีความเชี่ยวชาญในการเข้าใจเทคโนโลยี AI ในการเข้าไปแก้ไข แก้ปัญหา ในประเทศเลยก็จะสูญเสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว และไม่คุ้ม
- ประเทศไทยมีโจทย์ด้านภาษาไทย ก็ยังต้องการ Startup มาทำเรื่องนี้ เพราะประเทศไทย Market Size เล็ก เราต้องทำเอง คนต่างประเทศไม่ทำให้เรา
มุมมองอื่น ๆ ที่อาจไม่จำเป็นต้องทำเอง
ถ้าเราทำเองได้ก็เป็นเรื่องดี แต่เราต้องดูมุมอื่น ๆ ด้วย เช่น
- เรื่องคน เรามีคนที่ทำได้เยอะขนาดไหน ซึ่งส่วนนี้จะเกี่ยวกับเงินลงทุนและความพร้อม ทีมเราเล็ก เทียบกับบริษัทเทคเจ้าใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก ๆ หลายอย่างก็ทำแข่งไม่ได้ (เสริมจากคุณ ทัชพล)
- ความคุ้มค่า ในการพัฒนาอันนี้มีหลายมิติที่ต้องคิด
- การแข่งขัน ความเสี่ยง เราทำแล้วเราจะได้เปรียบ หรือมีความสามารถในการแข่งขัน
- ดร.ชาญวิทย์ เราไม่กังวลเรื่องการที่เราจะโดนครอบงำ หรือไม่ แต่กังวลเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ เราจะอยู่กันยังไง การยืนบนไหล่ยักษ์ไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย แต่เราต้องยืนให้เป็นเพื่อพัฒนาต่อยอดและสร้างโอกาสให้ประเทศ เราต้องทำ AI เองมั้ย ก็คงต้องทำ แต่ต้องทำตามโจทย์ที่เราได้มาจากลูกค้า AI ในต่างประเทศอาจจะไม่ตอบโจทย์
- การพัฒนาเทคโนโลยีอาจจะต้อง วิเคราะห์ว่ายักษ์จะทำมั้ย เพราะต้องระวังเรื่องโดน ยักษ์เหยียบ เวลาวิเคราะห์ว่าจะทำเทคโนโลยีอะไร อาจจะต้องลองคิดว่า 3 ปีข้างหน้า รายใหญ่จะทำมั้ย Google จะทำมั้ย ถ้าคิดว่าจะทำเราก็ไม่ลงไปพัฒนาจะดีกว่า
- ทำเองหรือไม่ทำเอง ไม่ใช่ถูกหรือผิด แค่เราต้อง Focus ว่าอะไรเราจะทำเอง เพื่อให้ประเทศเราไม่โดนใครยึด หรือ จะพัฒนา AI อะไรเพื่อเป็นการส่งออกเทคโนโ เพราะบางอย่างงประเทศเราก็เก่งมากพอที่จะพัฒนาและส่งออกเทคโนโลยีได้
Sovereign AI: เราสร้างเองได้ ถ้าคนพร้อมและกล้ายืนบนไหล่ยักษ์
(เพิ่มเติมจาก page ของบริษัท Amity Solutions)
- สรุปประเด็นสำคัญจากงาน DCT Seminar โดยสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (Digital Council of Thailand – DCT) ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ร่วมเสวนาในหัวข้อ “AI ต่างชาติครอบงำประเทศ !? AI ของคนไทย เพื่ออำนาจต่อรองและอธิปไตยของชาติ” ดำเนินรายการโดย ดร. อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ
- ผู้ร่วมเสวนาเห็นพ้องว่า Sovereign AI คือสิ่งที่ไทยควรมี — แต่ต้องทำอย่างมีกลยุทธ์ โดยเน้นว่า “คน” คือหัวใจสำคัญ
- ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร ผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) – Sovereign AI เกิดได้ถ้าเรามีบุคลากรพร้อมและมีศักยภาพในการเรียนรู้
- ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand: AIAT) – คนไทยเราเป็นผู้ใช้ AI ที่ดี ส่วนการที่จะมี Sovereign AI ได้ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ คน เทคโนโลยี และข้อมูล ถ้าอยากเป็นผู้สร้าง ต้องเริ่มพัฒนาเองจากศูนย์
- ดร. กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร iApp Technology – know-how เกิดจากการทำและพัฒนา เราควรจะมี LLM ภาษาไทยของตัวเองที่ตอบโจทย์เฉพาะ เช่น ภาษาท้องถิ่น ที่เผยแพร่และสร้าง value ได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว
- ดร. ชาญวิทย์ บุญช่วย นายก สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Entrepreneur Association of Thailand: AIEAT) – ประกอบไปด้วยหลายมิติทั้งเรื่องงบประมาณ คน ความคุ้มค่า การแข่งขัน สิ่งที่น่ากังวลไม่น่าใช่เรื่องการครอบงำ เราควรที่จะ “ยืนบนไหล่ยักษ์ให้เป็น” ทำ AI เองได้แต่ควรเลือกทำในส่วนที่เกิดประโยชน์และตอบโจทย์ในเชิงธุรกิจ
- คุณทัชพล ไกรสิงขร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีกลุ่มบริษัท และหัวหน้าฝ่ายเอไอ แล็บส์ Amity Solutions – การ “ยืนบนไหล่ยักษ์” คือการต่อยอดจากสิ่งที่มี แต่ต้องมองให้ขาดว่าอะไรควรทำเองและอะไรควรเลี่ยงเพื่อไม่ให้ซ้ำกับ “ยักษ์” ที่อาจลงมาเล่นเองในอนาคต โดยเฉพาะในมุม product development ที่ต้องหาช่องว่างให้เจอ พร้อมเสนอว่าไทยควรมียุทธศาสตร์ชัดเจนเป็นขั้น: Import → เรียนรู้ และ Build → Export โดยภาครัฐควรมีบทบาทสนับสนุนทั้งด้านนโยบายและการถ่ายโอนองค์ความรู้
- ศ.ดร. วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์ รองประธานสภาดิจิทัลฯ – Sovereign AI ต้องเริ่มจากการสร้าง “คน” มีความรู้ และต้องมีกำลังการประมวลผล, data, และการสนับสนุนจากรัฐ
สรุปและบทส่งท้าย: Sovereign AI – ทางรอดหรือภาระของประเทศไทย?
การแสวงหา Sovereign AI ในประเทศไทยเป็นประเด็นที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ผมก็หวังว่า คณะกรรมการ AI แห่งชาติ จะคิดในมิติที่ลึกขึ้น ความตื่นกลัวเรื่องนี้เป็นแรงผลักดันสำคัญ ความกังวลว่าการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศจะนำไปสู่การสูญเสียอธิปไตยทางเทคโนโลยีและความสามารถในการแข่งขัน
การพัฒนา AI ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดการพึ่งพาและสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา LLM ภาษาไทยที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของประเทศ อย่างไรก็ตาม การพัฒนา Sovereign AI ต้องเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะคน เงินทุน และความสามารถในการแข่งขัน
การลงทุนมหาศาลและการแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เป็นเรื่องเสี่ยง เอกชนในไทยก็เล็กและเป็นส่วนน้อย การจะประคับประคองธุรกิจก็ยากแล้ว การลงทุนยิ่งยากกว่า ภาครัฐและเอกชนรายใหญ่ควรให้การสนับสนุนบริษัทไทย แทนจะใช้ SW ต่างประเทศทั้งหมด
การ “ยืนบนไหล่ยักษ์” ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากเราสามารถต่อยอดและสร้างโอกาสให้ประเทศได้ สิ่งสำคัญคือการวิเคราะห์อย่างรอบคอบว่าเทคโนโลยีใดที่บริษัทใหญ่จะไม่เข้ามาทำ และเทคโนโลยีใดที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญมากพอที่จะพัฒนาและส่งออกได้
ดังนั้น คำถามที่ว่า “ทำเองหรือไม่ทำเอง” จึงไม่ใช่ประเด็นของการถูกหรือผิด แต่เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ว่าเราควร Focus ไปที่อะไร เพื่อรักษาอธิปไตยทางเทคโนโลยี สร้างความสามารถในการแข่งขัน หรือพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก การตัดสินใจนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน การวิเคราะห์อย่างรอบคอบ และการมองการณ์ไกลถึงอนาคตของเทคโนโลยี AI ในประเทศไทย
- ออดรีย์ ถัง (唐鳳) เป็นโปรแกรมเมอร์โอเพนซอร์สชาวไต้หวันและนักกิจกรรมด้านข้อมูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฝ่ายวาระดิจิทัล (Digital Minister) ของไต้หวัน เคยเป็นเด็กอัจฉริยะด้านคอมพิวเตอร์และผลักดันนโยบายรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
ตำแหน่งทางการเมืองปัจจุบัน Ambassador-at-large for cyber affairs: รับผิดชอบงานด้านความมั่นคงไซเบอร์ในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ 7 ต.ค. 2024 ↩︎