back to top
Friday, May 16, 2025

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค “วรรณะใหม่ ” หลายมิติ อนาคตที่ผู้คนจะถูกแบ่งแยกชนชั้นด้วยวิทยาศาสตร์ และวรรณะทาง AI

Share

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค “วรรณะทาง AI” หลายมิติ อนาคตที่เราจะถูกแบ่งแยกชนชั้นด้วยวิทยาศาสตร์ และวรรณะทาง AI วรรณะทาง AI จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมและเศรษฐกิจ.

ผมพูดถึง ข่าวที่ผมเขียนที่ Sam Alman ลงทุนในการพยายามนำเอางานวิจัยงานหนึ่งเรื่อง Yamanaka factors ซึ่งถูกค้นพบโดยศาสตราจารย์ชินยะ ยามานากะ (Shinya Yamanaka) เป็นการพยายามจะรีโปรแกรมให้เซลล์นั้นย้อนกลับไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิด iPSCs (induced Pluripotent Stem Cells) ซึ่งการรีโปรแกรมนี้ทำให้ย้อนวัน ซึ่งความตั้งใจจะเอา AI มาใช้ในการศึกษาลำดับโปรตีน เพื่อเร่งการวิจัยให้เรื่องนี้เกิดเร็วขึ้น โดยพยายามใช้ Model ChatGPT มาสอนเรื่องการลำดับโปรตีน เป็น Model เฉพาะ GPT-4b micro โดยเริ่มจาก [เซลล์ผิวหนัง] ที่รีโปรแกรมง่าย ก็น่าจะเป็นประโยชน์ หากนำ AI มาช่วยวรรณะทาง AI

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวรรณะทาง AI กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้.

วรรณะทาง AI จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวกระโดดในวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์.

และอาจารย์ก็ให้ความรู้อีกหลายเรื่องที่ลึกขึ้นในทางการแพทย์ ประเด็นเรื่อง DNA Sequencing ที่ถูกลงและการสามารถตรวจความผิดปกติในโรคต่าง ๆ ได้เอง ในอนาคต โอกาสที่เราจะทราบความเสี่ยงมะเร็ง ในขั้นต้น ได้ง่ายและรวดเร็ว และอีกหลายเรื่อง ที่ลึก ๆ จนงง หลายครั้ง ก็พยายามเข้าใจ

ขุดหนังเก่า เล่าปรัชญา: ครบรอบ 24 ปี Gattaca เทคโนโลยี พันธุกรรม  ความเหลื่อมล้ำในโลกอนาคต | ประชาไท

เรื่องราวเกี่ยวกับวรรณะทาง AI จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้คนในอนาคต.

ในยุคที่วรรณะทาง AI กำลังเติบโต การพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก.

ประเด็นหลังจากคุยอาจารย์แนะนำให้ไปดูหนัง Gattaca (1997)1 ฝ่ากฏโลกพันธุกรรม หนังเก่าปี 1997 ที่ล้ำอนาคตมากเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจเรื่อง DNA และ อนาคตที่เราจะถูกแบ่งแยกชนชั้นด้วยวิทยาศาสตร์ ก่อนหน้านี้เขียนเรื่องหนังไซไฟ ไปแต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง AI แต่นี่เป็นเรื่อง DNA เลยอยากเขียนถึงเรื่องนี้ครับ

การเข้าใจวรรณะทาง AI จะทำให้เราเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต.

วรรณะทางยีนเด่น

วรรณะใหม่healthcare-ai

หนังเริ่มต้นด้วย ความน่าสนใจ เมื่อเด็กชายถือกำเนิด เราก็จะถูกแค่เจาะเลือด และพยากรณ์อนาคตทั้งชีวิตได้อย่างง่ายดายจากข้อมูล DNA มีความเป็นไปที่จะป่วยเป็นโรค แนวโน้มโรคหัวใจ มีโอกาสได้ถึง 99% สรุปมีแนวโน้มอายุสั้น “ลูกของคุณมีโอกาสอยู่รอดได้ไม่เกิน อายุ 30”

เพราะฉะนั้นครอบครัวที่ต้องการ ความ Perfect จะชดเชยลูกที่สมบูรณ์แบบด้วยการคัดยีนจาก DNA ที่รวมส่วนที่ดีที่สุดของพ่อแม่เข้าด้วยกัน คัดยีนด้อยออกจนหมด ไปจนถึงการเลือกบุคลิกภาพภายนอกได้อย่างง่ายดายด้วย ปลอดจากโรคร้ายแรง หรือความพิการทางพันธุกรรม นั่นคือการถือกำเนิด มนุษย์ที่ถือได้ว่า เป็นมนุษย์สายพันธุ์เด่น ที่ไม่สามารถเกิดด้วยวิธีทางธรรมชาติได้ แม้จะมีลูก 1000 คน ก็ไม่สามารถได้พันธุ์เด่นเท่ากับวิธีการนี้

วรรณะใหม่healthcare-ai

วรรณะทาง AI จะกำหนดทิศทางของการศึกษาและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในระยะยาว.

การศึกษาวรรณะทาง AI จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น.

เราจำเป็นต้องเข้าใจบทบาทของวรรณะทาง AI เพื่อที่จะสามารถแข่งขันในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว.

ด้วยวรรณะทาง AI เราสามารถสร้างโอกาสใหม่ในทุกระดับของสังคม.

การพัฒนาทักษะด้านวรรณะทาง AI จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวและเติบโตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว.

เทคโนโลยีการคัด ยีนเด่น จากความตั้งใจดี นวัตกรรมที่ช่วยยืดอายุ ลดความเสี่ยงทางทางพันธุกรรม สุดท้ายกลายเป็นโลกในแบบดิสโทเปีย เต็มไปด้วยความมืดมนในด้านต่าง ๆ ทั้งในแง่การปกครอง สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จนกลายเป็นโลกการแบ่งแยกชนชั้น ด้วยวิทยาศาสตร์ มนุษย์คัดพันธุ์ถือเป็นอภิสิทธิ์ช แม้แค่สายตาสั้น คือ สิ่งที่บ่งบอกชาติกำเนิดอันล้าหลังระหว่างคนมนุษย์ ธรรมดาและมนุษย์คัดพันธุ์ เกิดธุรกิจแห่งการ การสวมอัตลักษณ์ เกิดขึ้น

ในเรื่องนี้ ยีนก็ดี พันธุลักษณ์ก็ดี ถูกมองว่าเป็นเพียงสิ่งของหรือเป็นเครื่องหมายบ่งบอกฐานะเท่านั้น แนะนำให้ไปหาดูในหนังนะครับ มีสปอยล์ด้านล่างจบใน 12 นาที เป็นหนังเก่าที่แนวคิดล้ำมาก และเทคโนโลยีวันนี้เกิดขึ้นได้จริงแล้ว

วรรณะทาง AI

ไม่เพียงแค่วรรณะทางยีนเด่น อย่างเดียว วรรณะ AI ก็จะเกิดขึ้นเช่นกัน

ผมได้นั่งดู Video ของ TechSauce ใน YouTube พูดเรื่อง AI ในปี 2025 หน้าตาเป็นยังไง มีเทรนด์อะไรบ้างที่เราควรรู้ ? ในช่วงของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ Preseident Thailand Development Research Institute พูดถึงช่วงหนึ่งถึงการแบ่งวรรณะ ของคนทำงานในโลกของ AI ที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม วรรณะใหม่healthcare-ai

วรรณะใหม่healthcare-ai
ภาพนี้แบ่งคนทำงานออกเป็น 4 กลุ่ม โดยใช้แกนสองแกน:
แกนแนวนอน (Horizontal axis) คือ “Non-AI User” ↔ “AI User”
แกนแนวตั้ง (Vertical axis) คือ “Not so smart” ↔ “Smart”

จากแกนทั้งสอง เราจะได้ 4 ช่อง (Quadrants) ดังนี้:

  1. คนเก่ง แต่ไม่ใช้ AI
    คือกลุ่มที่มีทักษะสูง มีความรู้ความสามารถดี แต่ยังไม่ได้นำ AI หรือเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาช่วย จึงอาจจะใช้เวลานานในการทำงาน หรือต้องทำงานด้วยแรงกายแรงสมองของตัวเองเป็นหลัก ข้อดีคือเป็นคนที่มีรากฐานความรู้แน่น เข้าใจงานอย่างละเอียด แต่อาจเสียโอกาสในการยกระดับผลงานหรือขยายศักยภาพได้มากกว่านี้ หากได้ใช้ AI มาช่วยสนับสนุน
  2. คน Cyborg (เก่ง + ใช้ AI)
    เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงที่สุด เพราะไม่เพียงเก่งในเรื่องพื้นฐานของงานที่ทำ แต่ยังประยุกต์ใช้เครื่องมือ AI หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น แม่นยำขึ้น และมีเวลาไปโฟกัสที่งานเชิงกลยุทธ์หรือความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น การผสมผสาน “ทักษะมนุษย์” กับ “ทักษะการใช้ AI” จึงทำให้กลุ่มนี้กลายเป็น “มนุษย์กึ่งเครื่องจักร (Cyborg)” ที่ได้เปรียบสูงมากในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาท สำหรับมุมผม Cyborg อาจรวมไปถึงคนที่ อัพเกรดส่วนหนึ่งของร่างกาย ด้วยการ นำเอาเทคโนโลยีไบโอนิคหรืออวัยวะเทียมชีวภาพ มาใช้และมี AI เข้ามาช่วยด้วย
  3. คนที่ไม่เก่ง และไม่ได้ใช้ AI
    คนกลุ่มนี้มีทักษะหรือความสามารถยังไม่เพียงพอ เมื่อไม่ได้ใช้ AI เป็นตัวช่วย ก็ยิ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน หรือทำงานได้ไม่ทันต่อการแข่งขันในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ถ้ากลุ่มนี้เรียนรู้เพิ่มเติมหรือเริ่มใช้ AI เป็นเครื่องมือ ก็มีโอกาสขยับตัวเองไปอยู่ในกลุ่มอื่นที่มีศักยภาพสูงขึ้นได้
  4. คนไม่เก่ง แต่ใช้ AI เก่ง
    แม้ทักษะพื้นฐานด้านงานหรือด้านความรู้ยังไม่แข็งแรงมาก แต่สามารถใช้เครื่องมือ AI เพื่อเติมเต็มช่องว่างนั้นได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นอย่างมากในระยะเวลาสั้น ๆ ข้อดีคือสามารถ “ย่อ” ระยะเวลาเรียนรู้หรือลดต้นทุนความผิดพลาดลงได้ แต่ข้อระวังคือ ถ้าไม่ได้พัฒนาความเข้าใจเชิงลึกในศาสตร์หรือเนื้องานจริง ๆ เอาไว้ด้วย ก็อาจจะขาดทักษะเชิงกลยุทธ์หรือความสร้างสรรค์ที่เป็นของมนุษย์โดยแท้วรรณะใหม่healthcare-ai

ผมได้เอาเรื่องนี้มาเล่ากับทีมงานในบริษัท ถามทุกคนว่า เราอยากเป็นคนอยู่ในวรรณะไหน ทุกคนจะตอบเหมือนกันว่า ขวาบน คือ คน Cyborg (เก่ง + ใช้ AI) แต่ผมให้มุมมองไปมากกว่านั้นว่า เราควรจะอยู่ทั้ง 2 วรรณะ ในฝั่งขวามือ คือเป็น คนเก่ง + ใช้ AI เก่ง และเป็น คนไม่เก่ง แต่ใช้ AI เก่ง พร้อม ๆ กัน เพราะว่า เราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง การที่เราไม่เก่งในเรื่องนั้น ให้เราคิดว่า AI ก็จะช่วยให้เราเก่งขึ้น จะทำให้เราสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น

การทำความเข้าใจวรรณะทาง AI จะช่วยให้เราเข้าใจแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในอนาคต.

ดร.สมเกียรติ ยังพูดอีกว่า 4 ชนชั้นนี้ก็แบ่งความสามารถบริษัทในอนาคตได้เช่นกัน

วรรณะทาง AI
GUI (Graphical User Interface) concept.

โลกของเรา กำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่เกิด “ชนชั้นวรรณะ” ใหม่หลายมิติ

เมื่อมองภาพรวม “ทักษะของคนทำงานในยุค AI” จึงไม่ได้หมายถึงแค่ “เก่ง” ในเชิงทฤษฎีหรือปฏิบัติอย่างเดียว แต่ยังต้องสามารถผสานพลังกับเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ยุคนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่:วรรณะใหม่healthcare-ai

  • คนที่มีความรู้ลึกซึ้ง (Smart) จะยิ่งได้เปรียบมากขึ้น ถ้ารู้จักใช้ AI เป็นตัวเสริม
  • คนที่ยังไม่เก่ง ก็สามารถ “ยกระดับ” ตัวเองได้ไวขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเรียนรู้ทักษะการใช้ AI
  • การไม่เรียนรู้ AI เลย อาจทำให้เสียโอกาสและแข่งขันได้ยากในระยะยาว

การเข้าใจวรรณะทาง AI มีความสำคัญในการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ในการทำงาน.

ด้วยความก้าวหน้าของวรรณะทาง AI เราจะมีโอกาสสร้างอนาคตที่ดีกว่า.

สรุปแล้ว ภาพนี้สะท้อนให้เห็นว่า ในยุคที่การทำงานเปลี่ยนไปด้วยพลังของ AI เราไม่ควรมองว่า “AI จะมาแทนที่มนุษย์” แต่ควรมองว่า “มนุษย์+AI” จะทรงพลังกว่า “มนุษย์เพียว ๆ” หรือ “AI เพียว ๆ” อย่างไร ทำให้เราต้องวางแผนพัฒนาทักษะตัวเองควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือ AI เพื่อสร้างโอกาสใหม่และเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้สูงสุดนั่นเอง

โลกของเรา กำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่เกิด “ชนชั้นวรรณะ” ใหม่หลายมิติ ไม่ได้มีแค่ความแตกต่างทางสังคม อำนาจ หรือทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังรวมถึง “ชนชั้น AI” และ “ชนชั้นทางยีน” อีกด้วย

2 เรื่องที่เล่ามาจากหนัง Gattaca (1997) ฝ่ากฏโลกพันธุกรรม คือ วรรณะ ทางยีน ที่แบ่ง พวกยีนด้อย และ พวกยีนเด่นออกจากกัน สังคมเลยให้คุณค่าคนสองกลุ่มนี้แตกต่างกัน และเรื่องการเข้าถึงเครื่องมือ AI และความสามารถเป็น 4 วรรณะเข้าไปอีก อย่าลืมว่า ทุกวันนี้เราก็มีวรรณะทางสังคมกันอยู่แล้วหากมีสองเรื่องนี้เข้ามา อนาคตความเหลื่อมล้ำ และ Privillage จะเป็นอย่างไร ถ้ามองในแง่ร้ายก็เหมือนหนัง ที่เล่ามุมมองโลกในแบบดิสโทเปีย (เต็มไปด้วยความมืดมน) สิ่งนี้เราควรตั้งคำถามใน Generation ถัดไปที่การใช้ชีวิตจะยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปอีก

  • ชนชั้นวรรณะทาง AI:
    • ผู้ที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก AI อย่างคล่องแคล่ว จะสามารถสร้างมูลค่าและโอกาสทางอาชีพได้สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่คนที่ไม่มีโอกาส หรือไม่ได้เรียนรู้การใช้งาน AI อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง กลายเป็น “กลุ่มด้อยโอกาสทางเทคโนโลยี” ซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างกว้าง
  • ชนชั้นวรรณะทางยีน:
    • ในอนาคต เมื่อเทคโนโลยีชีวภาพหรือการตัดต่อยีนพัฒนาไปไกล คนที่สามารถลงทุนในการปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อให้ลูกหลานแข็งแรงหรือฉลาดกว่า ก็จะมีข้อได้เปรียบเหนือคนอื่น ๆ กลายเป็นการแบ่ง “ชนชั้น” ทางชีวภาพ ซึ่งอาจสืบทอดทางพันธุกรรม และทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำลึกขึ้นตามโครงสร้างการเข้าถึงเทคโนโลยี
  • ชนชั้นทางสังคม อำนาจ และความร่ำรวย:
    • ชนชั้นเหล่านี้ยังคงมีอยู่และฝังรากลึกในระบบเศรษฐกิจและการเมือง เมื่อพ่วงกับปัจจัยใหม่อย่าง AI และเทคโนโลยีชีวภาพ ยิ่งทำให้กลุ่มที่มีทุนทรัพย์หรือมีคอนเนคชันทางอำนาจ เข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นช่องว่างระหว่าง “ชนชั้นนำ” กับ “ชนชั้นที่เหลือ” ที่กว้างขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อนำทั้งหมดมารวมกัน จะเห็นว่า สังคมในยุค AI และเทคโนโลยีล้ำสมัย มีแนวโน้มจะเกิดการแบ่งชั้น (Stratification) ในมิติต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องความรวยหรือความจนอีกต่อไป แต่เป็นความแตกต่างทางโอกาสในการพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา สุขภาพ และการใช้เทคโนโลยี เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ บุคคลและองค์กร จำเป็นต้องตื่นตัว เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และวางนโยบายที่มองการณ์ไกล เพื่อให้การเติบโตของเทคโนโลยีไม่กลายเป็นเงื่อนไขตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ แต่เป็นโอกาสในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืนยิ่งขึ้น

เรื่องพวกนี้น่าคิดนะครับ เป็นพล็อตหนังได้เลยวรรณะใหม่healthcare-ai

  1. Gattaca (1997) เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่เล่าเรื่องราวของโลกอนาคตที่เทคโนโลยีพันธุกรรมก้าวหน้าอย่างมาก มนุษย์สามารถเลือกและปรับแต่งยีนของลูกหลานได้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคมระหว่างผู้ที่มีพันธุกรรมที่ถูกปรับแต่ง (“Valid”) และผู้ที่เกิดตามธรรมชาติ (“Invalid”)

    เรื่องราวมุ่งเน้นไปที่ วินเซนต์ ฟรีแมน (รับบทโดย Ethan Hawke) ชายหนุ่มที่เกิดตามธรรมชาติและถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “Invalid” ซึ่งมีความฝันที่จะเป็นนักบินอวกาศ แต่ด้วยข้อจำกัดทางพันธุกรรม เขาจึงต้องปลอมแปลงตัวตนเป็น เจอโรม มอร์โรว์ (รับบทโดย Jude Law) ชายผู้มีพันธุกรรมที่สมบูรณ์แบบแต่ประสบอุบัติเหตุจนพิการ เพื่อเข้าสู่บริษัท Gattaca และไล่ตามความฝันของเขา

    ภาพยนตร์นี้สะท้อนถึงประเด็นทางจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีพันธุกรรม การแบ่งแยกและการเลือกปฏิบัติทางพันธุกรรม รวมถึงการต่อสู้ของมนุษย์กับชะตากรรมที่ถูกกำหนดไว้
    ↩︎

สามารถรับชมได้ที่: tv.apple.com

Niwat Chatawittayakul
Niwat Chatawittayakulhttp://www.digithun.com
คุณตั้น นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท ดิจิทัน เวิลด์ไวด์ บริษัท Data & AI Tech Talant ในประเทศไทย เชี่ยวชาญด้าน การบริหารจัดการการทำ Data and AI Solutions รวมไปถึงการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน มีประสบการณ์ดูแลโครงการ Data ขนาดใหญ่ระดับประเทศ และอยู่เบื้องหลังโครงการด้าน AI ให้กับหลายองค์กรชั้นนำ

Read more

คุณน่าจะชอบบทความนี้