back to top
Saturday, May 17, 2025

ถอดรหัส DNA Sequencing ร่างกายของเรา ต้องใช้ตังค์เท่าไหร่ เราจะเริ่มต้นสู่การเข้าใกล้ความเป็นอมตะในปี 2029

Share

ความแก่ ตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของธรรมชาติ และหลักของความเป็นจริงที่ใครก็ต้องเจอ แต่เมื่อความแก่ ได้ถูกนิยามใหม่ว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง1 เมื่อถูกนิยาม ว่าเป็นโรคนั่นหมายความว่า เรารักษาได้ ความเป็นอมตะ เป็นเรื่องเพ้อฝันอยู่ในนิยายเรื่องเล่า และหนังแฟนตาซี แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าให้เราเอาชนะความแก่ได้ การเป็นอมตะก็สามารถกลายเป็นความจริงได้เช่นกัน

ในช่วงที่ผ่านมาผมกับทีมเราทำงานกับ Data ที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์เพื่อเข้าไปจัดการข้อมูลในการบริหารธุรกิจทางการแพทย์ ลึกไปถึงข้อมูลการวินิจฉัยโรค EMR หรือข้อมูลที่เป็นการตรวจค่าต่าง ๆ เพื่อในการตรวจความผิดปกติทางสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และก็เริ่มถลำลึกไปในความร่วมมือลึก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ด้านการพยากรณ์การวินิจฉัยโรค และมาถึงการทำงานกับข้อมูลที่เป็น DNA ในการพยากรณ์โอกาสในการเป็นโรคในอนาคตได้อย่างแม่นยำ (ยังไม่ใช่ทุกกลุ่มโรคนะครับ) มีงานวิจัยออกมาเกี่ยวข้องกับ การใช้ข้อมูล DNA มาพยากรณ์เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพ (Preventative Healthcare) ไปจนถึงการ หาทางในการรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการรักษาให้เหมาะกับความเฉพาะของบุคคล (Personalization Tratement Trials)

AI กำลังเริ่มเปลี่ยนการแพทย์ให้เป็นวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำ “AI is starting to turn medicine into an exact science”

ผมขอยกคำพูดในบทสัมภาษณ์ของ  เรย์ เคิร์ซเวลล์ (Ray Kurzweil) ใน The Economist ในบทความที่แล้ว AI กำลังเริ่มเปลี่ยนการแพทย์ให้เป็นวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำ ขยายความให้เข้าใจมากขึ้น เดิมที่การแพทย์การรักษาแม้จะมีความรู้การแพทย์มากมายแต่การรักษาหลายครั้ง แพทย์ก็จำเป็นการลองผิดลองถูก ไม่ใช่ว่าแพทย์จะไม่รู้แล้วเดานะครับ เพียงแต่ว่า การตอบรับผลของการรักษามีเรื่องร่างกายของคนไข้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน ยาบางประเภทให้ผลที่ดีกับคนไข้หนึ่งแต่ในทางกลับกัน ก็อาจไม่ส่งผลต่อการรักษาในคนไข้อีกคนหนึ่ง

แต่ AI กำลังจะพลิกโฉมการรักษาให้แม่นจำ จากข้อมูล ข้อมูลระดับ DNA

แต่ AI กำลังจะพลิกโฉมการรักษาให้แม่นจำ โดยการเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนไข้ ข้อมูลทั่วไป ประวัติการรักษาที่ผ่านมา ค่า Vital Signs สัญญาณชีพสำคัญ หรือค่าต่าง ๆ จากอุปกรณ์ทางการแพทย์มาใช้ประมวลผล และหากสามารถลงลึกในข้อมูลระดับ DNA

ถ้ากระบววนการรักษา สามารถมีข้อมูล DNA รหัสพันธุกรรมที่ควบคุมการทำงานของร่างกายเกือบทุกอย่าง การเข้าใจ DNA ช่วยให้เราสามารถ เข้าใจกระบวนการทำงานควบคุมของร่างกายของคนไข้ ทำให้แพทย์และคนไข้ทราบถึง

  • โรคทางพันธุกรรม: หลายโรคเกิดจากความผิดปกติของยีนใน DNA
  • มะเร็ง: การกลายพันธุ์ของยีนในเซลล์สามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็ง การตรวจลำดับ DNA ของเซลล์มะเร็งสามารถระบุชนิดของมะเร็ง และหาการกลายพันธุ์ที่เป็นเป้าหมายในการรักษาด้วยยาต้านมะเร็งที่ตรงจุด (targeted therapy) ได้
  • โรคติดเชื้อ: การตรวจลำดับ DNA ของเชื้อโรคสามารถระบุชนิดของเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้แพทย์เลือกใช้ยาปฏิชีวนะหรือวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้ รวมถึงสามารถติดตามการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อได้
  • การพยากรณ์โรค จากการการตรวจลำดับ DNA ก็สามารถทำให้แพทย์และคนไข้ สามารถวางแผนการป้องกัน ความเสี่ยงล่วงหน้าได้
  • พัฒนาการรักษา ให้ตรงจุดและมีความแม่นยำมากขึ้น เช่น
    • ยาต้านมะเร็งที่ตรงจุด: การระบุการกลายพันธุ์เฉพาะในเซลล์มะเร็งทำให้สามารถพัฒนายาต้านมะเร็งที่ตรงจุด ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัดทั่วไป
    • ยีนบำบัด: การแก้ไขความผิดปกติของยีนโดยตรงในเซลล์ เป็นวิธีการรักษาโรคทางพันธุกรรมที่น่าจะเป็นไปได้ในอนาคต
    • การพัฒนายาใหม่: การเข้าใจกระบวนการทางชีวภาพในระดับโมเลกุล จากการถอดรหัสข้อมูล DNA ทำให้สามารถพัฒนายาใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีผลข้างเคียงน้อยลง

การวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม DNA ของผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้สามารถพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้มากขึ้น โดยพิจารณาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ไลฟ์สไตล์ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดผลข้างเคียง

จะสามารถนำ DNA มาใช้ประโยชน์ทั้งหมดนี้ เราจะต้องนำ DNA มาเข้ากระบวนการ DNA Sequening ซึ่งเข้าถึงจุดที่เริ่มเข้าถึงได้ในวงกว้างแล้ว

เทคโนโลยีการจัดลำดับ DNA ทำให้เรามีอายุยืนได้มากขึ้น

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการจัดลำดับ DNA จะทำให้พลิกโฉมการรักษาและทำให้เรามีอายุยืนได้มากขึ้น เหมือนที่ผมเล่าไปก่อนหน้า ประโยชน์จากการเข้าใน รหัสพันธุกรรม ของเราทำให้การรักษาแม่นยำและตรงจุด โรคที่ไม่เคยคิดว่าเป็นแล้วจะหาย ก็หายได้ ยาที่ไม่เคยใช้ได้ผลกับเรา ก็ออกแบบยาใหม่ได้ เราจะกังวลเรื่องการรักษาน้อยลง แต่ต้องกังวลเรื่อง ค่ารักษาพยาบาลมากกว่า การรักษาด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ก็ยิ่งมีต้นทุนแพงขึ้นมากเท่านั้น ประชากรโดยส่วนใหญ่ก็จะเข้าถึงการรักษาได้ยาก แต่ถ้ามอง ทฤษกีความต่างของตัวคูณ การเปลี่ยนแปลง Exponential Change ที่ว่าด้วยครึ่งแรกของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี ครึ่งแรกจะเป็นครึ่งที่เติบโตดูช้า ๆ เทคโนโลยียังง่อย ๆ แต่เมื่เข้าสู่ช่วงหนึ่ง การเติบโตก็จะก้าวกระโดด และถ้าเรามาดูกฏของ Wtight’s Law2 เทคโนโลยีจะมีแนวโน้มที่ถูกลงและเข้าถึงได้ในวงกว้าง ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อก่อนมือถือ ราคาหลักแสน แต่ปัจจุบัน SmartPhone สามารถเข้าถึงทุกคนได้ในราคาหลักพันต้น ๆ เท่านั้น

เทคโนโลยีการจัดลำดับ DNA ต้นทุนถูกลงจนชนะกฏของ Moore3

หลายปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยจีโนมมนุษย์แห่งชาติ the National Human Genome Research Institute (NHGRI) ได้ติดตามต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการลำดับเบสดีเอ็นเอที่ดำเนินการในศูนย์ลำดับเบสดีเอ็นเอที่ได้รับทุนจากสถาบัน ข้อมูลนี้ทำหน้าที่เป็นมาตรฐานอ้างอิงที่สำคัญสำหรับการประเมินการปรับปรุงเทคโนโลยีการลำดับเบสดีเอ็นเอและเพื่อสร้างความสามารถในการลำดับเบสดีเอ็นเอของโครงการลำดับเบสดีเอ็นเอของ NHGRI ช่วยทำให้เราได้เห็นต้นทุนในภาพรวมของการทำเทคโนโลยี การลำดับเบสดีเอ็นเอ สำหรับใครที่จำชีววิทยา ลองทำความเข้าใจเรื่อง DNA กันซักนิด ผมเองถ้าไม่ได้ต้องเขียนบทความนี้ก็คงไม่ได้ละลึกความเข้าใจเดิม

มนุษย์เรา จะมีสิ่งที่เรียกว่า human genome คือชุดข้อมูลทั้งหมดของ DNA ในร่างกายของพวกเราครับ ซึ่งจะอธิบายความสัมพันธ์ด้วยภาพด้านล่างนี้ ใครทราบอยู่แล้วข้ามไปเรื่อง “ต้นทุนต่อเมกะเบสของลำดับเบสดีเอ็นเอ” ได้เลยครับ

Genome Sequencing and the Genome India Project - Rau's IAS

โครงสร้างของเซลล์ (ด้านซ้าย) เซลล์ คือ หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ภายในเซลล์จะมี นิวเคลียส ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม

ใน นิวเคลียส จะมี โครโมโซม ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยสาย DNA ที่ขดตัวแน่น มนุษย์มีโครโมโซม 23 คู่ (รวม 46 แท่ง) โครโมโซมแต่ละแท่งประกอบไปด้วยสาย DNA ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำสั่งในการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย

โครงสร้างของ DNA (ตรงกลาง) DNA (ดีออกซีไรโบนิวคลีอิกแอซิด) มีรูปร่างคล้าย บันไดเกลียวคู่ ที่บิดเป็นเกลียว ส่วนด้านข้างของบันไดทำจาก โครงสร้างน้ำตาล-ฟอสเฟต ทำหน้าที่เป็นโครงหลัก ส่วนขั้นบันไดคือ คู่เบสไนโตรเจน

ยีน คือ ส่วนหนึ่งของสาย DNA (Segment DNA) ที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เช่น สีผม สีผิว และการทำงานของร่างกาย ยีนเป็นเสมือน “โค้ดคำสั่ง” ที่ร่างกายนำไปใช้สร้างโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์

Human Genome หรือ จีโนมมนุษย์ คือ ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ยีนทั้งหมดที่อยู่ใน DNA ของโครโมโซมทุกคู่ในเซลล์หนึ่งเซลล์

โดยสรุป Human Genome คือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่เก็บอยู่ใน DNA ของเซลล์ โดยยีนเป็นส่วนหนึ่งของ DNA ที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะเฉพาะ และการทำงานของร่างกาย ส่วน Human Genome คือภาพรวมทั้งหมดของรหัสพันธุกรรมที่บอกว่าร่างกายของเราถูกสร้างขึ้นอย่างไร

จีโนมมนุษย์ (human genome) มีขนาดประมาณ 3,000 Megabases (Mb) หรือ 3 พันล้านเบส (base pairs) ในการวิเคราะห์โรคนั้นก็จะต้องมีการต้องวิเคราะห์ ปริมาณของ DNA sequence Megabases (Mb) ในยีนไม่เท่ากัน ก็มีตั้งแต่วิเคราะห์เพียงเสี้ยวเล็กน้อย ใช้แค่ 1Mb หรือหากเราวิเคราะห์เฉพาะตรวจสอบเฉพาะยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่สงสัย ซึ่งอาจใช้ DNA sequence เพียงไม่กี่ Megabase อาจจะประมาณ 30Mb สำหรับการลำดับเบสเฉพาะในส่วนที่เป็น Exome (ประมาณ 1% ของจีโนม)

ถอดรหัส DNA ร่างกายของเรา ต้องใช้ตังค์เท่าไหร่

ทีนี้เรารู้ประโยชน์ของมันแล้ว และรู้ชีววิทยาพื้นฐานแล้ว เรามาดูต้นทุนของการถอดรหัส ร่างกายของเรากัน DNA ก็เหมือนชุดโปรแกรมที่เขียนมาเพื่อสร้างการเป็นเรา ชุดโปรแกรมนี้เป็นเรื่องลี้ลับที่เราพยายามทำความเข้าใจมาตลอดและความเข้าใจก็มาขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเทคโนโลยีและงานวิจัยที่พัฒนามาอย่างต่อเรื่อง AI และ Machine Learning Technology ที่พัฒนาขึ้นทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ประมวลผลเข้าสู่โมเดลการพยากรณ์ ด้วยต้นทุนที่ถูกลงกว่าเมื่อก่อน

สิ่งที่ สถาบันวิจัยจีโนมมนุษย์แห่งชาติ เก็บข้อมูลต้นทุนของการถอดรหัส DNA ตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา จนถึงล่าสุดปี 2022 จากข้อมูลบนเว็บไซต์ ราคาค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุน (ราคาขายจริงจะมีค่าใช้จ่ายแวดล้อมอื่น ๆ อีกอ่านได้ที่เว็บไซต์ต้นทางนะครับ) ตามที่พูดไปก่อนหน้าเรามี จีโนมมนุษย์ (human genome) มีขนาดประมาณ 3,000 Megabases (Mb) ข้อมูลปี 2022 ต้นทุนต่อ Megabases อยู่ที่ 0.006 USD (ประมาณ 0.21 สตางค์) แต่ถ้า ร่างกายของ Human Genome ราคาต้นทุนไม่ได้ถูกคูณอย่างตรงไปตรงมาเนื่องจาก “ต้นทุนต่อเมกะเบสของลำดับเบสดีเอ็นเอ” ข้อมูลแสดงถึงต้นทุนของการสร้างข้อมูลลำดับเบสแบบดิบที่ยังไม่ได้ประกอบ ไม่มีการปรับเปลี่ยนสำหรับข้อมูล แต้ต้นทุนต่อ Human Genome เป็นต้นทุนที่ต้องแปลง มาเพื่อทำให้ลำดับเบสจีโนม มาประกอบจนอ่านค่าได้

สรุปวันนี้ต้นทุน เบื้องต้นยังไม่ใช่ราคาขายของผู้ให้บริการ เราจะถอดรหัส DNA ร่างกายเราทั้งหมดก็ประมาณ 523 USD หรือประมาณ 18,375 บาท ผู้ให้บริการอาจจะขายเรา 100,000 บาท หรือ 1 ล้านบาท ก็เป็นไปได้ทั้งหมดครับ

“ต้นทุนต่อเมกะเบสของลำดับเบสดีเอ็นเอ” – ต้นทุนของการกำหนดลำดับเบสดีเอ็นเอหนึ่งเมกะเบส (Mb; หนึ่งล้านเบส) และ “ต้นทุนต่อจีโนม” – ต้นทุนของการลำดับเบสดีเอ็นเอของจีโนมขนาดมนุษย์ภาพด้านล่าง ด้วยเทคโนโลยีการประมวลผลข้อมูล และเทคโนโลยีการจัดลำดับ DNA ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยี กับราคา เทียบความเร็วในการเพิ่มประสิทธิภาพอ้างอิง กฏของ Moore ประสิทธิภาพการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า การทำ DNA Sequence ได้พัฒนาเร็วชนะกฏของมัวร์ไปแล้ว ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่จับต้องได้ในภาพของต้นทุน แต่ความสามารถในการเอาบริการนี้ให้ถึงจุดที่เรียกว่าเข้าถึงได้ในวงกว้าง Demonetized ต้องอาศัยเวลาอีกซักระยะในการลดต้นทุนให้มีประสิทธิภาพขึ้นไปอีก

Sequencing Cost Per Megabase
Graph: Sequencing Cost Per Genome

เราจะเริ่มต้นสู่การเข้าใกล้ความเป็นอมตะในปี 2029

ที่เล่ามาทั้งหมดเรื่อง DNA จะทำให้เราเป็นอมตะอย่างไร ผมสรุปทิ้งท้ายแบบนี้ครับ การเข้าใจรหัสพันธุกรรม เป็นหัวใจสำคัญในการรักษาความเป็นปกติในร่างกาย ถ้าเปรียบเทียบเมื่อเราป่วย เสมือนร่างกายเราเจอ บักซ์ Bug บางอย่าง จากช่องโหว่วของโปรแกรมที่ถูกเขียนมา (โรคพันธุกรรม) หรือ เกิดความผิดปกติจากการทำงานของโปรแกรม (การใช้ชีวิต ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ) การที่เราสามารถพอดรหัส DNA ได้นั่นก็หมายความว่าเราแก้ Bug ได้ แต่การแก้ Bug ก็จะยากง่ายต่างกัน ขึ้นอยู่กับ Bug แต่เป็นตัวตั้งต้นอย่างน้อยเรารู้ว่าต้องไปแก้โปรแกรมที่ตรงไหน ไม่ต้องเดาสุ่ม

การเข้าใจโครงสร้างความผิดปกติของของการทำงานของเซลล์ โปรตีนและเซลล์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในทุกกระบวนการทางชีวภาพ เนื่องจาก โปรตีน เป็นโมเลกุลที่ทำหน้าที่หลักในเซลล์ และเป็นผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญในการรักษาการทำงานของเซลล์ให้เป็นปกติ ซึ่งเทคโนโนโลยีการสร้างแบบจำลองทางโปรตีนในร่างกาย จะสามารถทำให้เราสามารถจำลองโครงสร้างโปรตีน ไปใช้ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม สร้างยาที่แก้ไขความบกพร้อมได้แบบเจาะจง ไปจนกระทั่งสร้างเอนไซม์ทดแทนสำหรับผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมบางชนิด กระบวนการ ถอดรหัส DNA จะเป็นส่วนสำคัญช่วยในการรักษา

แต่ DNA Sequence เป็นแค่หนึ่งในการเข้าใกล้อนาคตในการเป็นอมตะ ยังมีอีกหลายงานวิจัยและเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ในการย้อนวัยอย่าง เทคโนโลยี Epigenetics4 เป็นต้น ซึ่งด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การพัฒนาเร็วขึ้นแบบ Exponential เราก็จะเจอความเร็วที่ชนะกฏของมัวร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จะยิ่งเพิ่มขึ้น ปี 2025 เป็นปีของการเริ่มต้นอย่างก้าวกระโดดของ Agetic AI ซึ่งในวงการแพทย์มองว่า AgenticAI จะช่วยเร่งความเชี่ยวชาญในการรักษาในทุกแง่มุม และในมุมความเชี่ยวชาญในด้านชีววิทยาระดับเซลล์ การเพิ่มขึ้นเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อการเพิ่มขึ้นของอายุขัยต่อปีถึง 12 เดือน เราจะบรรลุ “ความเร็วหลุดพ้นจากอายุยืน” “longevity escape velocity”

สิ่งที่ผมเริ่มกลัวหลังจากเริ่มเห็นความเป็นไปได้ของการมีอายุยืน ยังไม่ต้องถึงความเป็นอมตะ ก็คือ เราจะไม่ได้เกษียณกันครับ 555 ขอให้ทุกคนโชคดีมีสุขภาพดีครับ

แหล่งที่มาของข้อมูล และอ้างอิง
https://www.genome.gov/about-genomics/fact-sheets/DNA-Sequencing-Costs-Data


  1. มุมมองที่มองว่าความแก่ชราเป็นโรค:
    การเสื่อมสภาพของร่างกาย: นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มมองว่าความแก่ชราเป็นผลมาจากการเสื่อมสภาพของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การสึกกร่อนของปลอกหุ้มโครโมโซม (เทโลเมียร์) และการสะสมของเซลล์เสื่อมสภาพที่ทำให้เกิดการอักเสบ
    NSTDA

    การขาดหายของข้อมูลเอพิเจเนติกส์: ดร.เดวิด ซินแคลร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เชื่อว่าความแก่ชราเกิดจากการขาดหายไปของข้อมูลเอพิเจเนติกส์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำหรับกระบวนการควบคุมเหนือพันธุกรรม
    NSTDA ↩︎
  2. Wright’s Law หรือ กฎของไรต์ วงจรของการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เมื่อตลาดมีความต้องการที่ใหญ่ขึ้น (Bigger Market) → ความต้องการของสินค้าบริการเพิ่มขึ้น More Demand  → การผลิตก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น (More Efficient Production) → การผลิตมีประสิทธิภาพ สินค้าก็จะถูกลง (Cheaper Goods) → และเมื่อทุกอย่างถูกลง ก็ทำให้ตลาดใหญ่ขึ้นไปอีก ตลาดจะขยายตัวอีกครั้ง วนกลับเข้าสู่กระบวนการทั้งหมด 
    ↩︎
  3. กฎของมัวร์ (Moore’s Law) เป็นข้อสังเกตที่ไม่ใช่กฎทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ กล่าวโดยสรุปคือ จำนวนทรานซิสเตอร์บนชิปคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าประมาณทุกๆ สองปี นั่นหมายความว่าประสิทธิภาพการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน ด้วยต้นทุนที่เท่าเดิมหรือลดลง

    กฎของมัวร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะมันเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง มันช่วยให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีขนาดเล็กลง และราคาถูกลง ซึ่งนำไปสู่การแพร่หลายของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกแง่มุม
    ↩︎
  4. Epigenetics (อีพีเจเนติกส์) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีน (gene expression) โดยที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลำดับพันธุกรรม (DNA sequence) แต่อย่างใด การเปลี่ยนแปลงในระดับอีพีเจเนติกส์จะควบคุมการทำงานของยีนว่า ควรเปิดหรือปิด และส่งผลต่อกระบวนการทางชีวภาพต่าง ๆ เช่น การพัฒนาของเซลล์ และการตอบสนองของร่างกายต่อสภาพแวดล้อม
    ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางอีพีเจเนติกส์ เช่น:
    DNA Methylation – การเติมหมู่เมทิล (-CH₃) ลงบนสาย DNA ซึ่งมีผลปิดการทำงานของยีน
    Histone Modification – การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโปรตีนฮิสโตนที่ช่วยจัดเก็บสาย DNA ทำให้ยีนเข้าถึงได้มากหรือน้อย
    Non-coding RNA – RNA ที่ไม่ได้สร้างโปรตีนแต่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของยีน ↩︎

Niwat Chatawittayakul
Niwat Chatawittayakulhttp://www.digithun.com
คุณตั้น นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท ดิจิทัน เวิลด์ไวด์ บริษัท Data & AI Tech Talant ในประเทศไทย เชี่ยวชาญด้าน การบริหารจัดการการทำ Data and AI Solutions รวมไปถึงการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน มีประสบการณ์ดูแลโครงการ Data ขนาดใหญ่ระดับประเทศ และอยู่เบื้องหลังโครงการด้าน AI ให้กับหลายองค์กรชั้นนำ

Read more

คุณน่าจะชอบบทความนี้