ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ผมได้เข้า Session กับเพื่อน ๆ ในวันนั้นพูดคุยสิ่งที่เราจะต้องรับมือในปี 2025 มีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย เรามีคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของคนในองค์กร ที่ใช้ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน มีผู้คนบางส่วนที่ไม่สามารถก้าวข้ามการใช้เทคโนโลยีได้ แม้ว่า AI จะช่วยให้การทำงานสะดวกสบายขึ้น แต่ก็มีบางส่วนที่เปิดรับอย่างน่าประหลาดใจ คือ ผู้บริหารหรือบุคลากรอาวุโส ที่สามารถ Adopt การใช้ AI เข้ามาทำงานได้ ก็เพิ่มประสิทธิภาพ และกลายเป็น AI Super Users ได้ในที่สุด
มีคำนิยาม คำศัพท์ใหม่ ๆ เพื่อจำกัดความ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่หลาย คำเพื่อให้เห็นเทรนด์ หรือให้ธุรกิจเข้าใจแนวคิดใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น FOMO-Fear of Missing Out การกลัวการตกกระแส กลัวพลาดโอกาส และคำว่า FOBO ก็ไม่ใช่คำใหม่แต่อย่างไร FOBO-Fear of Being Obsolete หรือ คนที่กลัวว่าเป็นคนล้าสมัย เป็นคำที่พูดถึงตั้งแต่ปี 2023 คือความรู้สึกของผู้คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่อย่าง คน Gen Z กังวัลว่า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วจะทำให้เราล้าสมัย โดยเฉพาะเมื่อ การเห็นการพัฒนาของ Generative AI / Agentic AI
FOBO-Fear of Being Obsolete
FOBO เป็นคำศัพท์ยอดฮิตที่มีการกล่าวถึงซ้ำๆ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในงาน World Economic Forum ที่ดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ปีนี้ ในเวทีเสวนาชื่อ “Closing the Jobs Gap” ประธานาธิบดีสิงคโปร์ Tharman Shanmugaratnam กล่าวว่า วิกฤตการจ้างงานทั่วโลกกำลังจะมาถึง และได้เรียกร้องให้รัฐบาลและนายจ้างลงทุนในพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสให้ AI ทำงานร่วมกับทักษะของพนักงานแทนที่จะทำให้พวกเขาล้าสมัย
World Economic Forum (WEF)การประชุมระดับโลกที่รวบรวมผู้นำจากภาคธุรกิจ รัฐบาล องค์กรนานาชาติ นักวิชาการ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของผู้นำในปีนี้ FOBO กลับมาเป็นที่ถูกพูดซ้ำ ๆ FOBO-Fear of Being Obsolete คนทั่วโลกมีความวิตกกังวลที่จะล้าสมัยสูงขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่อาวุโส ที่ทำงานในองค์กรมายาว จะรู้สึก FOBO อย่างมาก เมื่อเห็นการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของคนรุ่นใหม่ ที่เอา AI มาใช้ และตัวเองก็ไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาอย่างยาวนาน และข่าวสารที่พูดถึงเรื่องการที่ AI อย่าง Agentic AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานหลายอย่างของมนุษย์ มีประสิทธิภาพและการทำงานที่ดีกว่าในเกือบทุก ๆ ด้าน ยิ่งทำให้เกิดความกังวล ผลสำรวจล่าสุดของ Gallup บ่งชี้ว่า FOBO กำลังเพิ่มสูงขึ้น ในการสำรวจพนักงานในสหรัฐฯ มี 22% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่ากังวลว่างานของตนอาจจะล้าสมัยเพราะเทคโนโลยี ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2021
ในการสำรวจพนักงานในสหรัฐฯ มี 22% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า กังวลว่างานของตนอาจจะล้าสมัยเพราะเทคโนโลยี ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2021
เรื่องนี้เอง ก็สะท้อนทั้งมุมมองที่ คนทำงานในทุกช่วงอายุ และทุกระดับ ต้องปรับตัว แม้ AI จะยังไม่ทดแทนงานทุกส่วนของมนุษย์ได้ ผู้นำธุรกิจเอง ก็ควรให้ความสนใจในการเพิ่มทักษะ (upskill) ให้กับพนักงานอย่างจริงจังพอๆ กับการลงทุนซื้อเครื่องมือ AI รุ่นล่าสุด จะทำให้ลดความกังวลลงได้ และพาองค์กรไปข้างหน้าพร้อม
สิ่งที่พนักงาน และบริษัทต้องปรับปรุง เพื่อลดความรู้สึก FOBO
- “พนักงาน และเราเองต้องบังคับตัวเองให้มีความใฝ่รู้จริงๆ” ส่วนบริษัทก็จะต้องสนับสนุน “บริษัทอาจจัดหาทรัพยากรและพื้นที่สำหรับการพัฒนาทักษะใหม่หรือการยกระดับทักษะ แต่แรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงต้องมาจากตัวบุคคลเอง” ผมเลยคิดว่าการสร้าง วัฒนธรรมองค์กร ให้เกิดการใฝ่รู้เป็นเรื่องที่ดีในระยะยาว
- transversal skills เป็นทักษะที่คนรุ่นใหม่มักมี ถ้าเราเป็นคนที่มีอายุแล้วเกิดความ FOBO ก็ควรเปลี่ยนมุมมองให้รับ ทักษะดิจิทัล และประยุกต์ เด็กรุ่นใหม่ ๆ มีความคล่องตัวมากกว่าเพราะเติบโตมาในโลกที่มีความผันผวนสูง ทักษะเหล่านี้มีประโยชน์มาก ในอนาคตที่ AI มีบทบาท
- รีเวิร์สเมนเทอริ่ง (Reverse mentoring) เป็นแนวทางที่สำคัญในการทำให้ ตำแหน่งงานอาวุโสในองค์กรได้พัฒนาตัวเอง
- รีเวิร์สเมนเทอริ่ง (Reverse mentoring) คือ กระบวนการหรือแนวทางการทำงานที่ให้พนักงานรุ่นใหม่ (ที่อายุน้อยกว่า) มาทำหน้าที่เป็น “เมนเทอร์” เพื่อถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และมุมมองใหม่ ๆ แก่พนักงานรุ่นอาวุโสหรือผู้บริหารที่อาจไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีหรือบริบทของโลกปัจจุบันมากเท่าคนรุ่นใหม่
รีเวิร์สเมนเทอริ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยเชื่อม “ช่องว่างระหว่างวัย” ในองค์กรและทำให้ทุกคนเรียนรู้จากกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และทำให้องค์กรปรับตัวพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
- รีเวิร์สเมนเทอริ่ง (Reverse mentoring) คือ กระบวนการหรือแนวทางการทำงานที่ให้พนักงานรุ่นใหม่ (ที่อายุน้อยกว่า) มาทำหน้าที่เป็น “เมนเทอร์” เพื่อถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และมุมมองใหม่ ๆ แก่พนักงานรุ่นอาวุโสหรือผู้บริหารที่อาจไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีหรือบริบทของโลกปัจจุบันมากเท่าคนรุ่นใหม่
คำถามสำคัญ FOBO เป็นแค่ความรู้สึก หรือเกิดขึ้นแล้ว
ถ้าอ่านบทความหลายบทความอ้างอิงปี 2029 หรือ 2030 คือปีที่ผลกระทบ AI ถึงจุดหักศอกสำคัญที่ AGI ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง ตามคำทำนายของ Ray Kurzweil
MIT ระบุว่า แม้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะมีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและกระตุ้นให้เกิดความกังวลในหมู่พนักงานที่กลัวว่างานของตนเองอาจถูกแทนที่ แต่ยังมีงานไม่มากที่ “คุ้มค่า” ที่จะใช้ AI มาแทนมนุษย์ในเชิงเศรษฐศาสตร์
AI ทดแทนเพียง 23% ของค่าจ้างได้อย่างคุ้มค่า
- การวิจัยชี้ว่าการจ้าง AI มาทดแทนมนุษย์จะเป็นไปได้กับงานในสัดส่วนเพียง 23% ของค่าจ้างเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายในการสร้าง ติดตั้ง และบำรุงรักษา AI กลายเป็นอุปสรรคเมื่อเทียบกับต้นทุนแรงงานที่มนุษย์ได้รับในปัจจุบัน
- ตัวอย่างหนึ่งคือ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) เพื่อตรวจสอบวัตถุดิบในเบเกอรี่ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการนำ AI มาใช้ยังสูงกว่าแรงงานคน
- บริษัทขนาดใหญ่มากเท่านั้นที่อาจคุ้มค่าในบางงาน
ผลวิจัยพบว่าบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีพนักงานราว 5,000 คน หรือคิดเป็น 0.1% บนสุดของบริษัทในสหรัฐฯ ก็ยังสามารถนำ AI มาใช้แทนงานคนได้เพียง 1 ใน 10 ของงานทั้งหมดอย่างคุ้มทุน - แรงสั่นสะเทือนในระยะสั้น แต่ผลระยะยาวอาจเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ความก้าวหน้าของ AI อาจทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” ในตลาดแรงงานช่วงแรก แต่หลังจากนั้น การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ทั้งนี้ Kristalina Georgieva ผู้นำ IMF เตือนว่า 40% ของงานทั่วโลกมีโอกาสถูกแทนที่โดย AI ในระดับหนึ่ง และอาจสูงถึง 60% ในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งอาจทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมขยายวงกว้างยิ่งขึ้น - มีปัจจัยเร่ง แต่ยังสามารถคาดการณ์ได้
แม้จะมีปัจจัยเร่ง เช่น AI-as-a-Service หรือค่าใช้จ่ายในการสร้างและบำรุงรักษาระบบ AI ที่ลดลง แต่อย่างน้อย AI ยังคงมีพัฒนาการที่ “คาดการณ์ได้” มากกว่าที่คิด ทำให้ภาคธุรกิจและรัฐบาลสามารถวางแผนเรื่องระบบสวัสดิการ การฝึกอบรม และการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบในอีก 10 ปีข้างหน้าได้อย่างมีเป้าหมายและเป็นขั้นเป็นตอน
ผมขอ Disclaim ไว้ซักหน่อยครับ ในงานวิจัยของ MIT ตอนนั้น ยังไม่มีเรื่อง Agentic AI เข้ามา และอาจจะยังไม่ได้ประเมิน เรื่องความสามารถของ Model AI ที่ปัจจุบัน มี IQ เหนือค่าเฉลี่ยของมนุษย์ไปแล้ว ผมยังเชื่อว่าการทดแทนงานบางส่วนและความคุ้มค่าสูงกว่าที่ งานวิจัยชิ้นนี้ของ MIT เพราะค่าใช้จ่ายในการใช้ AI ถูกลงอย่างมีนัยยะสำคัญใน 1 ปีที่ผ่านมมา
บทสรุป FOBO
จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการนำ AI มาใช้ในองค์กร พบว่านอกจากโอกาสอันมหาศาลแล้ว ยังมี “FOBO – Fear of Being Obsolete” หรือความกลัวการล้าสมัย ซึ่งเป็นความกังวลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานอาวุโสที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แม้ว่างานวิจัยของ MIT จะระบุว่า AI จะทดแทนงานมนุษย์ได้เพียง 23% แต่ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ Generative AI และ Agentic AI ทำให้ความกังวลเรื่องการถูกแทนที่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
การเพิ่มทักษะ (upskilling) และการพัฒนา transversal skills จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งพนักงานและองค์กรต้องร่วมมือกัน บริษัทควรสนับสนุนการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ ผ่านการจัดหาทรัพยากรและพื้นที่ในการเรียนรู้ ในขณะเดียวกัน พนักงานเองก็ต้องมีความใฝ่รู้ เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง การนำ Reverse mentoring มาใช้ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างรุ่นและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน
สรุปแล้ว FOBO ไม่ใช่แค่ความรู้สึก แต่กำลังกลายเป็นความจริงสำหรับผู้ที่ไม่ปรับตัว การลงทุนใน upskilling ไม่ใช่แค่การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร การเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ การรับมือกับ FOBO จึงไม่ใช่เพียงการต่อสู้กับความกลัว แต่เป็นการก้าวไปสู่อนาคตที่สดใสยิ่งกว่า
แต่ที่แน่ ๆ FOBO เป็นจริงเร็วกว่าที่คิดสำหรับคนที่ไม่ Adopt AI เข้ามาเลย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : Business Insider , MIT