back to top
Friday, May 16, 2025

HR Trend 2025 มีอะไรบ้าง วิเคราะห์แนวโน้มในไทยและบทบาทของ AI

Share

AI กับ HR เกิดขึ้นแล้ว และใช้เวลาอีกเล็กน้อยเพื่อทดแทนงานมากกว่า 50%

ในสายงาน HR ทุกปีมักจะมีสรุปผลสำรวจในมิติต่างๆมาให้อ่านและเตรียมตัววางแผนการบริหารบุคลากรในองค์กรเราเอง โดยวันนี้อยากหยิบยกแบบสำรววจนึงจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างการ์ทเนอร์ (Gartner) บริษัทวิจัย HR Trend 2025 และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ซึ่งถือได้ว่าข้อมูลที่มาจากการสำรวจนี้เอง ส่งผลต่อการวางกลยุทธ์ แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเทรนด์ของโลกนี้อย่างมาก 

ที่อยากจะพูดถึง ในวันนี้คือ Gartner: Top 5 Priorities for HR Leaders in 2025 1เป็นแบบสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างมีระบบ

โดยในแบบสำรวจ ได้กล่าวถึง 5 ปัจจัยที่ผู้นำองค์กรระดับโลก ให้ความสนใจ และตระหนักถึงความสำคัญ นั่นคือ

  • การสร้างภาวะผู้นำ (Leader and manager development)
  • การสร้างความแข็งแรงของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
  • การวางแผนกำลังคน (Strategic workforce planning)
  • การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change management) 
  • เทคโนโลยีเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Technology)

แล้วในฐานะของ HR เราจะมีบทบาทอย่างไรในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในแต่ละหัวข้อที่กล่าวถึงนี้ได้บ้าง? ทักษะอะไรบ้างที่เราต้องมี? ใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะสร้างปัจจัยเหล่านี้ให้เกิดในองค์กรเรา?

ถ้าจะกล่าวถึง คำถามที่ HR ได้ยินบ่อยมากตลอดช่วงปีที่ผ่านมา คงจะหนีไม่พ้นเทรนด์ของ Ai และอิทธิพลของมันต่อการทำงานของมนุษย์ จนบางทีก็แอบมีพนักงานมากระซิบถามว่า Ai จะมาทำงานแทนเราเหรอ? คนกำลังจากถูกเลิกจ้างและตกงานมั้ยถ้ามี Ai? 

HR-Trend-2025

วิธีบริหารคนในปี 2025 แบบ HR ยุค Ai

การนำเอา Ai มาปรับใช้ในองค์กร เพื่อเพิ่มความสามารถและผลงาน (Productivity) ของทีมงานจึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของผู้บริหาร และหัวหน้าทีม รวมไปถึงตัวพนักงานเอง ว่าตัวเราเองมีองค์ความรู้เกี่ยบกับเครื่องมือเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน และในตลาดนั้น คู่แข่งเราพัฒนาไปอย่างไรบ้าง 

หากเป็นสมัยก่อนคงต้องอ่านและหาข้อมูลอ้างอิงกันเป็นเดือนๆ กว่าจะทำแผนพัฒนาอะไรซักอย่างขึ้นมา แต่วันนี้เอง ในวันที่โลกมี Ai ก็เหมือนประตูสวรรค์สำหรับทุกสาขาอาชีพ

  • Automation : ลดขั้นตอน เพื่อประหยัดเวลางาน
  • Augmentation : เพิ่มจำนวนชิ้นงาน ในระยะเวลาที่เท่าเดิม
  • Inclusion : ให้ไอเดียหลากหลายและแตกต่าง
  • Innovation : การสร้างนวัตกรรมใหม่

มีบางคนกล่าวว่า เมื่อก่อน Ai สำหรับเรา คงเป็นเหมือนเครื่องคิดเลข ป้อนคำถามและให้คำตอบกับมาได้เพียงหนึ่งมิติ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ Ai เป็นเสมือนเด็กจบใหม่ ไฟแรง ที่เพียงเราสั่งงานเค้าในทางที่ถูกต้องและครอบคลุม ผลลัพธ์ที่ได้กลับมาก็ทำให้คนมีประสบการณ์อย่างเรา ว้าว ! ได้เช่นกัน 

ควรให้ Ai ช่วยงานแบบเห็น Task ชัดเจน จะได้ผลลัพธ์ดีกว่า

ความหมายของสิ่งนี้คือ หากจะว่าไปอาชีพ HR มีหลายหมวกที่ต้องใส่ และหลายด้านที่ต้องดูแลเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล

  • การสรรหาทรัพยากรบุคคล (Recruiting)
  • การพัฒนาบุคคลากรและอบรม (Training & Development)
  • การจัดการเงินเดือนและสวัสดิการ (Payroll & Benefit)
  • การติดตามประเมินประสิทธิภาพการทำงาน (Performance management) 
  • การสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กร (Employee management) 

ซึ่งดูเหมือนว่าจะต้องเอาทุกทักษะที่เกี่ยวกับการบริหารบุคลากรทั้งหมดมารวมกัน ลองจินตนาการเป็นรูปแบบองค์กรก็ได้ว่า บริษัทใหญ่ๆ จะแยกแผนก HR และเจ้าหน้าที่เหล่านี้ออกจากการ เพื่อการทำงานที่คล่องตัวและความถนัดที่เฉพาะทาง แต่หากเราอยู่ในองค์กรเล็กๆล่ะ จะแยกร่างยังไงกัน 

Ai พนักงานใหม่ ไฟแรงก็จะมามีบทบาทช่วยเราตรงจุดนี้ โดยที่เราในฐานะหัวหน้า Ai เมื่อจะสั่งงานให้ Ai ทำอะไร หรือหาข้อมูลอะไรซักอย่าง ก็ควรเฉพาะเจาะจงเพื่อดึงเอาความรู้เฉพาะทางของน้องใหม่คนนี้มาใช้ได้อย่างคุ้มค่าทุกมิติ เช่น

การสรรหาทรัพยากรบุคคล (Recruitment) เมื่อเราป้อนคำสั่งเพื่อคัดกรองเรซูเม่แคนดิเดท ตามคุณสมบัติที่กำลังโฟกัสหา เช่น สาขาที่เรียน ความสามารถทางภาษา ปีประสบการณ์ ฯลฯ 

เทคโนโลยีจะสามารถคัดกรองคุณสมบัติให้แมชท์กันโดยเราประหยัดเวลาในการอ่านเรซูเม่ บางทีจากหลักพัน อาจเหลือเพียงแค่หลักสิบในเวลาเพียงหนึ่งนาที 

ในอีกตัวอย่าง เช่น การพัฒนาบุคคลากรและการอบรม (Training & Development) การวิเคราะห์และประเมินทักษะความสามารถของพนักงานในองค์กรว่ามีจุดเด่น และจุดด้อยที่ตรงไหน เพื่อเอามาปรับแผนว่าควรต้องช่วยส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ หรือทักษะในทิศทางใด อะไรบ้าง เหล่านี้หากเราสามารถดึงข้อมูลและงานวิจัยเพื่อเป็นไอเดียในการร่างแผนพัฒนา ก็จะช่วยให้เราได้เห็นแนวทางปฏิบัติ และลำดับขั้นตอน ในบางคำสั่งที่เจาะลึกลงไปอาจได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น roadmap เลยก็เป็นได้

หรือในอีกตัวอย่างหนึ่ง การจัดการเงินเดือนและสวัสดิการ (Payroll & Benefit) ที่จะเข้ามาช่วยให้เกิดความแม่นยำ และโอกาสในการผิดพลาดน้อยลง เพราะนี้ถือเป็นหนึ่งเรื่องเซ้นซิทีฟระดับต้นๆ ของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายเลยก็ว่าได้

กล่าวได้เลยว่า การมี Ai เข้ามาเป็นผู้ช่วย ไม่ได้หมายความว่าเรามีคนเพิ่มในทีมแค่เพียงหนึ่ง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับการสั่งงาน และมุมมองตอนเราป้อนเซทคำถามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำออกมา ให้คิดเสมอว่าเวลาสั่งงาน Ai อย่ามองเป็นแค่งานที่เป็น Job แต่ให้มองเป็น Task หรือเนื้องานที่รับผิดชอบ ตามตัวอย่างที่ยกไว้ข้างต้น ผลลัพธ์ที่ได้มาก็จะน่าประทับใจ โดยที่เราไม่ต้องมีทีมงานที่ใหญ่เหมือนแต่ก่อนแล้วก็ได้

ความกังวลเรื่องการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์

แน่นอนว่าภาพจำของ HR คือฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่จะต้องมีความใกล้ชิดกับบุคคลภายในองค์กร และช่วยขับเคลื่อนการทำงานของพนักงานด้วยกลยุทธ์ต่างๆ แม้ว่า Ai คือปัญญาประดิษย์ที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ณ ช่วงเวลาที่เราป้อนข้อมูลคำถามเข้าไปได้ แต่ข้อดีของกระบวนการทำงานของน้องใหม่ Ai คนนี้ คือการประมวลผลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือการตกตระกอนประสบการณ์ของเราเอง มาปรับใช้ควบคู่กับข้อมูลที่ทาง Ai ประมวลมาให้อย่างเหมาะสม กับเนื้องาน หรือสถานการณ์นั้นๆ

“พนักงานเดินมาปรึกษาว่าไม่ถูกกับหัวหน้า อยากลาออก” แน่นอน เซทข้อมูลนี้ Ai จะไม่สามารถพูดปลอบประโลทมใจพนักงานท่านนั้นได้เหมือน HR แต่สิ่งที่ Ai จะทำได้คือการให้โครงสร้างการจัดการกับสถานการณ์นั้น ว่า เราควรปฏิบัติอย่างไรเป็นขั้นตอน ซึ่งในฐานะ HR เราสามารถนำแนวทางนี้มาใช้เพื่อลำดับการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพได้

ตัวอย่าง

ความพร้อมในการเอา Ai มาปรับทำงานจริง

เคยมีคนพูดไว้ว่า Ai ที่ดีที่สุด คือ Ai ที่เรายอมลงทุนจ่ายเงินเพื่อซื้อบริการ แล้วตัวไหนล่ะถึงจะดีที่สุด? หากเราไม่มีงบประมาณมากขนาดนั้นจะทำอย่างไร? 

ต้องบอกว่าเป็นโชคดีของเหล่า HR อย่างพวกเรา ที่การแข่งขันทางเทคโนโลยีสมัยนี้ทำให้มีเครื่องมือใช้งานฟรีแจกให้เราได้ลองกันหลายค่าย ประกอบกับแหล่งเรียนรู้ตามโซเชียลที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ลองตั้งต้นจากอะไรที่ใกล้ตัว และค่อยๆปรับหาสิ่งที่เหมาะกับเรา เนื้องานที่เราทำอยู่ โดยเทคนิคในการรีดประสิทธิภาพเครื่องมือออกมา คือ แยกงานเป็นขั้นตอน ตั้งเป้าหมายชัดเจน ลำดับคำตอบหรือข้อมูลที่เราอยากได้ 

ด้วยเทคนิคขั้นต้นนี้ ผลลัพธ์ของงานก็จะเหมือนมีผู้ช่วย ที่มาแบ่งเบางานเราออกไปบางส่วนแล้ว ที่เหลือคงเป็นตัวเราที่ต้องคอยอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยี ตามกลุ่มและช่องทางต่างๆด้วยตัวเราเองอีกทาง

บทสรุป HR Trend และความโชคดีที่มี Ai มาเป็นผู้ช่วย

หากเเราอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาองค์กรตามกลยุทธ์ที่กล่าวไว้ตอนต้น

  • การสร้างภาวะผู้นำ (Leader and manager development)
  • การสร้างความแข็งแรงของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
  • การวางแผนกำลังคน (Strategic workforce planning)
  • การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change management) 
  • เทคโนโลยีเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Technology)

การนำเอา Ai มาประยุกต์ใช้เพื่อลดงานซ้ำซ้อน ตัดขั้นตอนการทำงานที่เสียเวลาออกไป และรู้จักวิธีการเพิ่มศักยภาพของงาน HR โดยมี Ai เป็นผู้ช่วย เพื่อเราได้ข้อมูลวิเคราะห์ที่หลากหลายก่อนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ก็จะทำให้เรามีโอกาสสร้างนวัตกรรม และต่อยอดเพื่อสานต่อแผนต่างๆที่วางไว้ 

คุณล่ะ วันนี้มีน้องใหม่ Ai ไฟแรงเป็นผู้ช่วยหรือยัง?!?!

  1. Link ที่เกี่ยวข้อง :https://www.gartner.com/en/human-resources/trends/top-priorities-for-hr-leaders ↩︎
Piraya Pariwatthannakij
Piraya Pariwatthannakij
HR และ BP ของบริษัท Digithun Worldwide มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการบริหารและพัฒนาบุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ พร้อมนำเทคโนโลยีและแนวทางสมัยใหม่มาใช้เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรและพนักงานอย่างยั่งยืน

Read more

คุณน่าจะชอบบทความนี้